Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Italian Japanese Korean

เห่เรือบก

ประวัติความเป็นมา

          เป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวบ้านได้สั่งสม สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งการละเลนพื้นบ้านโดยทั่วไปมักเกิดจากความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่น อาจมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณอักษร หรือสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่มีการจดบันทึกชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อปรับปรุง ประยุกต์การละเล่นขอังถิ่นอื่นมาปรับใช้ให้เมาะสมกับสภาพโครงสร้างทางสังคมของท้องถิ่นตน การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่มักเกิดจากวิถีชีวิตสภาพภูมิศาสตร์การทํามาหากิน และความเชอของคนเมืองเพชร
          ปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านกําลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตเนื่องจากเด็ก และเยาวชนในท้องถิ่นต้องห่างไกลจากการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งเดิมนั้นการละเล่นพื้นบ้านจะอยู่คู่วิถีชีวิต อาชีพของท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อยจากการทํางาน เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงพาดตาลเป็นต้นปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านกําลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต เนื่องจากการหลั่งไหลสู่สังคมเมืองของเด็กและยาวชนในท้องถิ่นชนบท ประกอบกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และการไหลบ่อของวัฒนธรรมอื่นที่เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้อย่างรวดเร็ว ทําให้การละเล่นพื้นบ้านยิ่งเป็นของแปลกสําหรบเด็กไทยในยุคโลกาภิวัฒน์

 วิธีการเล่นเห่เรือบก

            วิธีการเล่นเห่เรือบกนั้น ผู้พายเรือจะต้องมีความสามารถในการพายเรือ และร้องเพลงประกอบให้เข้า
กับจังหวะ ทําให้ผู้พายเกิดความสนุกสนาน ครึกครื้น

 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเห่เรือบก

            อุปกรณ์ที่ใช้ในการเห่เรือบก ทําได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน คือ
                       ๑. เรือ ไม้พาย ทาแบบง ํ ่าย ๆ จากไม้ไผ่
                       ๒. ผ้า หุ้มโครงไมไผ้ ่ให้เป็นรูปเรอื
                       ๓. เชือก สําหรับสะพายบ่าของผู้พายเรือ

วิธีการจัดคนในการเห่เรือบก

            วิธีการจัดคนนั้นขึ้นอยู่กับจํานวนคนที่ใช้ในการพายเรือไม่มีจํากัด ซึ่งอยู่กับขนาดของเรือที่สร้างขึ้นแต่ในที่นี้จะยกตัวอย่างว่ามีคนจํานวน ๑๐ คนดังรูป

                                                           ๑
                                                           ๒
                                                       ๓     ๔
                                                       ๔     ๖
                                                       ๗     ๘
                                                           ๙
                                                          ๑๐

                           คนที่ ๑ เป็นคนหัวเรือ คนที่ ๒ เป็นคนป้องหัวเรือ
                           คนที่ ๓ ถึงคนที่ ๘ เป็นลูกเรือ
                           คนที่ ๙ เป็นคนป้องกันท้ายเรือ
                           คนที่ ๑๐ คนสุดท้ายเป็นคนอยู่ท้ายเรือ

ลักษณะการแต่งกายของผู้เห่เรือบก

            การแต่งกายของผู้เห่เรือบกไม่ได้กําหนดตายตัวไปเลยง่าจะต้องแต่งชุดใดสีอะไรแต่งตามความต้องการของตนเอง ตังอย่างเช่น ผู้หญิงสวมเสื้อแขนยาวสวมผ้าถุง หรือ โจงกระเบน ส่วนผู้ชายอาจสวมเสื้อแขนกระบอก กางเกงขายาว หรืออาจเป็นเสื้อลายดอกที่มสีีสันสดใส แต่ส่วนมากจะสวมชุดเหมือนกันเพื่อความสวยงาม

วิธีการทำเรือเห่บก

           วิธีการทําเรือเห่บกก็สามารถทําได้ไม่ยากนัก เนื่องจากเรือบกจะมลีักษณะที่เบาเพื่อสะดวกในการสะพายใส่บ่า มักจะทําด้วยไม้ไผ่คือ นําไมไผ้ ่มาผ่าซีก ตัดให้ยาวพอจํานวนคนที่จะพายเรือ มัดหัวมัดท้ายทําให้ป่องตรงกลางลําเรือ ท้องเรือกลวงสามารถให้คนพายเขาไปย ้ ืนได้นํากระดาษหรือผ้านําไปติดกับโครงของลําเรือตกแต่งให้สวยงาม นําเชือกมาผูกกับของของลําเรือทําเป็นที่สะพายบ่า

โอกาสในการแสดง

           สถานที่ที่มีเรือบกไปแสดงนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นตามงานตามวัด ในงานทอกกฐินตามวัดต่าง ๆ ในวันสําคัญของไทย เช่น วันสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น หรือมีการประกวดเห่เรือบกที่มีผู้จัดขึ้นมาเอง และมีรางวัลให้กับผู้ชนะในการประกวด  ซึ่งในสมยนั ี้ก็ยังให้เห็นกันอยู่ทั่วไป

ระยะเวลาในการแสดง

           เวลาที่ใช้ในการแสดงเห่เรือบก แสดงในงานวัดหรืองานทอดกฐิน จะแสดงตอนกลางวัน แต่ถ้าการจัดประกวดส่วนมากจะเป็นตอนกลางคืนหรือเป็นตอนใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้จัดไม่ได้กําหนดตายตัว

 

ตัวอย่างเพลงเห่เรือบก


โห่ ๓ ครั้ง

                เอาเฮราโล เอาสาระพา เอาสาระพา เอาเฮราโล
                เอาเฮราโลสาระพา เอาสาระพาเฮราโล
                             ต่างคนต่างร้องไชโย                    แล้วก็โห่สามลา
                             บ้านลาดล่องมา                         บ่ายหน้าวิ่งจิ๋ว
                             แม่ก็ลอยละลิ่ว                           ปลิวไปตามกรอกกระแส
                             มาขุนระหว่างนายระหว่าง              แม่ย่านางข้างหัว
                             เชิญมาเสียใหทั่ว                        ลูกจะเข้าแข่งขนั
                             ลูกจะแข่งที่ได้                           ให้มีชัยก็ชนะ
                             ลูกขอแพ้กับพระ                         ให้ชนะกับชาวบ้าน
                             อย่าให้ลูกตกอับ                          ขอให้รับรางวัล
                             ขอให้ลูกมีชื่อ                             เลื่องลือไปนาน
                เอาเฮราโล เอาสาระพา เอาสาระพา เอาเฮราโล
                เอาเฮราโลสาระพา เอาสาระพาเฮราโล
                             แม่เรือใครไปข้างหน้า                   มารอท่าฉันก่อน
                             ว่าฝีพายฉันยังอ่อน                       ก็พึ่งจะสอนหัดใหม่
                             ร้องลําก็ยังไม่ชัด                          ยังไม่ถนัดเพราะหู
                             พ่อแม่ที่ท่านมาดู                         หนูขออภัยอย่าโทษ
                             พ่อแม่นั้นจงโปรด                        อย่าลงโทษโกรธฉัน
                             แม่เรือฉันองอาจ                          อยู่บ้านช่องสะแกเมืองฟ้า
                เอาเฮราโล เอาสาระพา เอาสาระพา เอาเฮราโล

                                ลิขสิทธิ์ : สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
 

 

alt

alt

alt

alt

 


องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะแก
หมู่ที่ 6 ตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000
โทรศัพท์ 032-400058 : โทรสาร 032-400058 ต่อ 12
E-mail : chongsakae.71501@gmail.com

นายกอบต. : 032-400058 ต่อ 15
ปลัดอบต.
: 032-400058 ต่อ16
สำนักปลัด : 032-400058 ต่อ 12
กองคลัง : 032-400058 ต่อ 14

กองช่าง : 032-400058 ต่อ 11
กองการศึกษาฯ : 032-400058 ต่อ 13
ห้องประชุม : 032-400058 ต่อ 17
อปพร. : 032-400058 ต่อ 18






 


ลิขสิทธิ์ © 2556 - 2567 องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะแก จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.